♥Welcome to blogger Miss.Tikumporn Sudadach♥

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปรายการโทรทัศน์ครู

สรุปรายการโทรทัศน์ครู
เรื่อง การเรียนรู้นอกห้องเรียน : ส่องนกในโรงเรียน - Learning Outside the Classroom : Birdwatching in School
โรงเรียนอนุบาลเซอเรย์ สแควร์ เป็นโรงเรียนใจกลางกรุงลอนดอน 
ในขณะที่โรงเรียนอนุบาลวูเลนวิค อยู่ในฮาร์ตฟอร์ดเชียร์
กิจกรรมการส่องนกในโรงเรียน สามารถส่งเสริมทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์
ทักษะการสังเกต เนื่องจากเด้กระดับปฐมวัยใช้กล้องส่องทางไกลเพื่อดูนกโดยการสังเกตโดยใช้ตา
ทักษะการจำแนกประเภท ของนกเพราะนกมีหลากหลายชนิด หลากหลายสี และมีขนาดที่แตกต่างกัน
ทักษะการวัด เด็กได้มองดูและวัดขนาดนกผ่านทางสายตา โดยวัดได้ว่านกตัวใหญ่ตัวเล็กขนาดแตกต่างกัน
ทักษะการสื่อความหมาย เด็กสามารถบอกได้ว่านกมีสีอะไร แตกต่างกันอย่างไร และตอบปริศนาของครูได้ก่อนเริ่มกิจกรรมส่องนก บอกจุดที่นกอยู่ได้ผ่านการส่องกล้องส่องทางไกล เด็กทุกคนมีกระดานและกระดาษสำหรับจดบันทึก เช่น ขีด/ เพื่อนับจำนวนนก 1 ชนิดว่ามีทั้งหมดกี่ตัว
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล เด็กสามารถตอบครูได้เมื่อครูบอกให้เด็กดูว่านกอยู่ตรงไหนโดยการส่องกล้อง
       และการจัดกิจกรรมส่องนกนี้ เด็กได้สัมผัสกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายนอกห้องเรียนที่มีอยู่ให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รู้จักแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ ได้สังเกตสิ่งที่อยู่รอบๆตัวอย่างไกล้ชิด ทั้งต้นไม้ ไม้หนาม ดอกไม้ป่า ทุ่งหญ้า เด็กๆได้ร่วมทำกิจกรรม คือ การให้อาหารนกรอบๆบริเวณโรงเรียนเพื่อที่นกจะได้รู้ว่าสามารถมากินอาหารได้ และจะมีนกหลากหลายสายพันธุ์ที่เข้ามาไกล้ในบริเวณโรงเรียน เด็กๆจะได้เห็นนกมากมาย รู้จักขั้นตอนการทำอาหารให้นกเพื่อลำดับกิจกรรมก่อนการออกไปส่องนกร่วมกันกับเพื่อนๆและครู ก่อนการทำกิจกรรมครูได้สอนเด็กๆเรียนรู้ชื่อนกแต่ละชนิดและเด็กๆจะได้นับถูกว่านกแต่ละชนิดมีกี่ตัว เช่น นกกิ้งโครง มีอยู่ 3 ตัว ที่เด็กเห็น การฟังเสียงของนกเมื่อนกร้อง และสุดท้ายครูให้เด็กสรุปร่วมกันว่าเด็กเห็นนกอะไรบ้างเพื่อให้ความสำคัญกับเด็ก

เพิ่มเติม

Lernning

ทับใบไม้ใส่หนังสือ
           สำหรับความคิดของฉัน ฉันคิดว่าการทับใบไม้ใส่หนังสือไว้ทำให้เราได้เรียนรู้โครงสร้างของใบไม้ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถนำมาดูกิ่ง ก้านที่ใบไม้แตกแขนงออก การเปลี่ยนสีของใบไม้ และใบไม้ที่ทับไม่แตกเหมือนใบไม้ที่ร่วงหล่น เหมือนกับว่าใบไม้ยังมีน้ำที่ใช้ในการดูดซึมอยู่ เมื่อลูบใบไม้ดูมีเสียงเหมือนกระดาษ

ใบมะเขือพวงที่ฉันทับไว้ตอนที่อาจารย์ได้บอก

ลมพัดปลิวไหวไหว               กิ่งก้านใหญ่พอทานลม
ใบไม้คนนิยม                       ใช้เป็นร่มกั้นแดดฝน
ใบไม้คราใบเขียว                 น่าดูเชียวสายตาคน
ชอุ่มคราวยามยล                  เหมือนฟ้าดลให้คู่กัน
บัดนี้ใบไม้แห้ง                     ลมพัดแรงก็หล่นพลัน
หล่นพื้นหลายคืนวัน             จึงเป็นชั้นซ้อนดินดาน
ใบไม้กลายเป็นปุ๋ย                ดินร่วนซุยเมื่อเนิ่นนาน
ปุ๋ยใดจักเทียมปาน                เกิดจากการทับถมใบ
(บัวกันต์  วิลามาศ-ประพันธ์) 
              จากบทร้อยกรองข้างต้น ทำให้เราเห็นประโยชน์ของใบไม้มากมาย ทั้งเป็นที่กันลมกันแดด ให้ความสบายตาสบายใจ ให้ปุ๋ยอันเป็นประโยชน์ต่อผืนดิน และสำหรับเด็กๆ แล้ว "ใบไม้" ยังให้ประโยชน์อีกมากมายจนเราอาจทึ่งว่าของใกล้ตัวอย่างใบไม้...ใครจะไปคิดว่าคุณพ่อคุณแม่ (หรือคุณครู) สามารถนำมาเป็นเครื่องมือให้เจ้าตัวน้อยได้เรียนรู้สารพัดเรื่องราวได้ขนาดนี้
                ลองชวนเด็กๆ เก็บใบไม้ที่เขาเห็นใกล้ตัวมาหลายๆ แบบ แล้วมาเรียนรู้เรื่องต่างๆ กัน บางเรื่องผู้ใหญ่อย่างเราๆ  เองก็อาจไม่ได้สังเกตมาก่อนเหมือนกันว่าใบไม้น่ะมีเรื่องราวแฝงอยู่มากมาย
เรียนรู้เรื่องสี   ใบไม้มีหลายสี ตั้งแต่สีเขียวสีเขียวที่เราคุ้นเคยไปจนถึงระดับต่างๆ สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีน้ำตาล   
เรียนรู้เรื่องรูปทรง   แค่ใบไม้ในสวนหลังบ้าน ก็มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันมากมาย ทั้งใบเรียวยาว  ใบกลมป้อม  ใบคล้ายหยดน้ำขนาดใหญ่  หรือใบมะนามไม่มีแฉก ใบตำลึงมีแฉก เป็นต้น ลองจับมาเรียงดูสิแล้วเราจะทึ่งกับความแตกต่างของรูปทรงใบไม้ที่เห็น
เรียนรู้เรื่องขนาด   ใบไม้มีตั้งแต่ใบเล็กจิ๋ว เช่น ใบมะขาม ใบขนาดกลาง เช่น ผักบุ้ง  ไปจนถึงใบใหญ่  เช่น ใบกล้วย (ใบตอง)  หรือใบบัว เป็นต้น
เรียนรู้รื่องผิวสัมผัส  ใบไม้จะมีด้านที่เป็นเส้นใบนูนขึ้นมา ให้เด็กๆ เอามือลูบดูผิวสัมผัสนั้น และสังเกตความแตกต่างของเส้นใบนั้นว่าแต่ละชนิดมีเส้นใบที่ต่างกันหรือไม่ อย่างไร หรือบางชนิดก็แข็งหนา บางชนิดก็บาง ให้ลูกได้สัมผัสถึงความแตกต่างนี้
เรียนรู้วิทยาศาสตร์   ให้เด็กๆ สังเกตใบไม้สด  (สีเขียว)  กับ ใบแห้ง (สีน้ำตาล) ลองถามเขาว่ามันแตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการสอนเรื่องความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติตามหลักวิทยาศาสตร์
เรียนรู้จำนวน     ลองให้เด็กๆ นับจำนวนใบไม้ในแต่ละกิ่งที่เขาตัดมาว่ามีเท่าไหร่ และเปรียบเทียบว่าต้นไม้ที่ต่างชนิดกันมีจำนวนใบในแต่ละกิ่งเท่ากันหรือแตกต่างกัน  เด็กๆ จะเห็นว่าใบไม้มีทั้งใบเดี่ยว คือใบที่มีแผ่นใบไม้เพียงแผ่นเดียวบนก้านใบที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น และใบประกอบ คือใบที่มีใบย่อยมากกว่าหนึ่งใบบนก้านใบ ลองนับและสังเกตกันดูสิจ๊ะ
เรียนรู้เรื่องประโยชน์    เด็กๆ จะได้เรียนรู้ว่าใบไม้สีเขียวนั้นมีประโยชน์ต่อทุกสิ่งบนโลก สีเขียวให้ออกซิเจน ให้ความสดชื่นสบายตาสบายใจ ส่วนใบไม้ที่แก่ถึงเวลาที่ต้องร่วงหล่นลงพื้นนั้นก็จะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยให้พื้นดินต่อไป
ทำศิลปะง่ายๆ จากใบไม้กันเถอะ
*  พิมพ์ภาพใบไม้    การทำภาพพิมพ์จากใบไม้สามารถทำได้ทั้งในลักษณะสีแห้ง คือการฝนสีเทียนบนกระดาษบางที่ทาบบนใบไม้  โดยหงายด้านที่เป็นเส้นใบขึ้น ลายเส้นของใบไม้จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นอย่างชัดเจน   และการพิมพ์โดยการระบายสีโปสเตอร์บนใบไม้ แล้วคว่ำไปบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น กระดาษ หรือผ้า
 * นำใบไม้มาแต่งภาพ   โดยใช้ใบไม้มาจัดแต่งภาพ เช่น อาจให้เด็กๆ นำใบไม้ทั้งใบที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้มาติดในภาพเป็นภาพต้นไม้ อาจนำใบไม้ที่มีลักษณะคล้ายพระจันทร์เสี้ยวมาติดเป็นรูปพระจันทร์ หรือให้เด็กๆ จินตนาการต่อเติมภาพจากใบไม้ หรืออาจนำใบไม้หลายสีมาตัดเป็นรูปทรง รูปร่างต่างๆ  แล้วนำมาประกอบเป็นภาพของตัวเอง
*  ทำงานประดิษฐ์จากใบไม้   สามารถนำมาทำงานประดิษฐ์ได้มากมาย  เช่นทำโมบาย ทำพวงหรีดแบบง่ายๆ เป็นส่วนประดับหมวก ทำเป็นปีกผีเสื้อ  ฯลฯ
โมบายใบไม้ 
           นำใบไม้ที่มีสีสันสวยงาม สดใส นอกจากสีเขียวอาจเป็นใบสีเหลือง สีแดง และใบไม้แห้ง  มาร้อยหรือติดกาวให้ยาวเป็นสายลงมาหลายๆ เส้น แล้วนำไปผูกที่น้าต่างหรือประตู เป็นโมบายใบไม้ที่สวยงาม โดยไม่ต้องซื้อหาเลย  
 ดนตรีจากใบไม้      รู้มั้ยว่าเราสามารถสร้างเสียงดนตรีจากใบไม้ได้ ด้วยการเป่าใบไม้ให้เกิดเสียง อาจต้องอาศัยการฝึกฝนบ้าง แต่ก็ไม่ยากที่จะลองทำดู  ขั้นแรกก็เลือกใบไม้ที่มีความบาง มีความมัน ยืดหยุ่นได้ดี เช่น ใบฝรั่ง ใบมะม่วง  ใบมะยม หรือใบอ่อน ฯลฯ  แล้วใช้ริมฝีปากและแรงลมเป่า เพื่อให้ริมฝีปากกับใบไม้ออกเสียงได้ตรงตามเสียงที่ต้องการ
 เรียนรู้กันเพิ่มเติม...
  • ใบไม้กินได้ เรียกว่าผัก
  • ลักษณะนามของใบไม้ คือ "ใบ"
  • ให้เด็กๆ สังเกตใบไม้เมื่อลมพัดมาว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร และลองให้เขาทำท่าเลียนแบบการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่เขาเห็น
  • แข่งกันแต่งประโยคที่มีคำว่า "ใบไม้" ให้ได้มากที่สุด
  • ตั้งคำถามให้เด็กๆ ตอบว่า หากโลกนี้ไม่มีใบไม้ เขาคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • ให้ลูกเด็ดใบไม้สีเขียวสอดไว้ในสมุดหน้าละ 1 ใบ ไม่ให้ซ้อนกัน จากนั้นนำหนังสือหนักๆ ทับสมุด ปล่อยทิ้งไว้สัก 1 อาทิตย์ กลับมาดูอีกที จะเห็นว่าใบไม้เขียวกลายเป็นใบไม้แห้ง ที่ลูกสามารถเห็นเส้นใบได้อย่างชัดเจน จากนั้นนำแต่ละใบมาจัดเรียงให้เป็นระเบียบ ทากาวบางๆ ติดลงไป แล้วเขียนชื่อใบไม้แต่ละใบ วันที่ และสถานที่ที่เก็บได้ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับใบไม้ได้ลึกซึ้งขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของสีสัน
อ้างอิงจาก : http://www.familyweekend.co.th
                บทความกิจกรรมเพิ่มพลังสมอง




วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

30 September 2013

Leanning 18.
วันนี้ส่งสื่อการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

23 September 2013

Leanning 17.
กิจกรรมการทำอาหารสำหรับเด็ก
วันนี้กลุ่มเพื่อนที่ได้รับมอบหมาย
พาเพื่อนๆทำแกงจืดที่น่ารับประทาน
โดยมีกระบวนการสอนดังนี้
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา?
2.เด็กๆเก่งมากๆเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง?
3.ใช่แล้วค่ะ วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ?
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ?
5.ขณะที่รอน้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมันอันตราย
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ?
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ?เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาดช่วยคุณครูบ้างคะ?
10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?



วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

22 September 2013

Leanning 16.
วันนี้คุณครูเบียร์พานักศึกษาเขียนแผนการสอน
ในการทำCookkingสำหรับเด็กปฐมวัย


ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน
1.เขียนคำว่า Cookking หมายความว่าอย่างไรบ้าง

2. เลือกเมนูอาหารที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มอยากจะทำ แล้วบอกประโยชน์และข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเมนูของกลุ่มตนเอง

3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด เช่น วิธีทำ ,อุปกรณ์ ,วัตถุดิบ เป็นต้น
4.เขียนแผนการสอนเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง

5.นำแผนการสอนออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน



16 September 2013

Learnning 16.
วันนี้มีการนำเสนอสื่อการสอน
เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยมีการนำเสนอสื่อการสอนดังนี้

การทดลอง
1.กาลักน้ำ
2.ข้าวยกได้
3.ดอกไม้บาน


ของเล่น
1.ปลาร้องเพลง
2.กระป๋องร้องเพลง
3.ขวดลูกเด้ง
4.กบไต่เชือก
5.กระป๋องบูมเมอแรง
6.ภาพเปลี่ยนแปลง
7.ตุ๊กตาล้มลุก


สื่อจัดไว้ในมุมการศึกษา
1.ภาพนูน 2 มิติ
2.นิทานในกล่อง
3.กล่องมหัศจรรย์
4.ลูกบอลกลิ้ง
5.น้ำหนักที่แตกต่าง
6.ซูโม่กระดาษ
7.ภาพเปลี่ยนสี
8.สัตว์โลกน่ารัก
9.จับคู่ให้ถูก

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

9 September 2013

Learnning 15.
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์
เพื่อเตรียมส่งในการเรียนครั้งต่อไป