♥Welcome to blogger Miss.Tikumporn Sudadach♥

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

8 July 2013

Learning 4.

**อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนได้ทำแอนิเมชันจากหนังสือพลิกภาพ
(
Flipbook หรือ สมุดดีด)

               เทคนิคการทำแอนิเมชันด้วยการวาดภาพทีละเฟรมลงบนกระดาษ
           แล้วนำมาเย็บจนเป็นเล่ม จากนั้นใช้วิธีกรีด หรือพลิกให้ดูแต่ละหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เห็นภาพเคลื่อนไหว เรียกว่าFlipbook ค่ะ ที่เราเห็นภาพต่อเนื่องเคลื่อนไหวได้ เพราะแต่ละภาพจะพลิกผ่านสายตาอย่างรวดเร็ว (30 ภาพต่อวินาที) สมองยังไม่ทันลืมภาพเก่า ภาพใหม่ก็มาปรากฎแทนที่ ก็เลยเห็นเป็นการเคลื่อนไหวขึ้นมาได้นั่นเองค่ะ
..การเปิดสมุดดีด..

--->ฟลิ๊บบุ๊ค (Flipbook) หรือเรียกง่ายๆว่า สมุดดีด คือการวาดภาพเคลื่อนไหวอย่างง่าย ลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ แล้วนำภาพที่วาดทั้งหมดมาเย็บต่อกันเป็นเล่ม การสร้าง Flipbook นี้เป็นการศึกษาทดลองการสร้างภาพเคลื่อนไหวในขั้นพื้นฐานก่อนที่จะนำไปประยุกต์ เช่น การศึกษาการกระโดดของคน ,การเตะ ,การต่อย เป็นต้น เลือกทำเพียงช่วงหนึ่งของกิจกรรมนั้นๆ การทำFlipbook คือการนำหลักทฤษฎีภาพติดตามาใช้ เมื่อเราเปิดภาพด้วยความเร็ว(ดีดสมุด) จะทำให้เราเห็นว่า ภาพนิ่งทุกภาพที่วาดนั้น เกิดการเคลื่อนไหวได้ กระดาษที่ใช้ทำ Flip Book ควรเป็นกระดาษปอนด์ที่มีความหนาพอควร เพื่อความคงทนในการเก็บรักษา

..การเปิดสมุดดีด..

--->ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)              การที่เราเห็นภาพหมุน ( Thaumatrope ) เป็นรูปนกอยู่ในกรงได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา ซึ่งมีหลักการดังนี้
Dr. John Ayrton Paris
                หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
                อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น  ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา
#อาจารย์ให้นำเสนอ ของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเองที่เตรียมมาพร้อมอธิบายConceptของเล่นที่ตนเองเลือกด้วย
#อาจารย์เปิด  VDO  อากาศมหัศจรรย์ให้นักศึกษาดู



1July2013

Learning 3
--->อาจารย์อธิบายการวิเคราะห์ประเด็น โดยให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์แล้วสรุปเป็นรูปแบบ Mind Mapping
--->อาจารย์เปิดVDOเรื่อง"ความลับของแสง"ให้นักศึกษาดู แล้วจึงสรุปเป็นMind Mapping

**มอบหมายงาน
     : ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์(เดี่ยว)พร้อมอธิบายConceptของชิ้นงานด้วย