♥Welcome to blogger Miss.Tikumporn Sudadach♥

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

23 September 2013

Leanning 17.
กิจกรรมการทำอาหารสำหรับเด็ก
วันนี้กลุ่มเพื่อนที่ได้รับมอบหมาย
พาเพื่อนๆทำแกงจืดที่น่ารับประทาน
โดยมีกระบวนการสอนดังนี้
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา?
2.เด็กๆเก่งมากๆเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง?
3.ใช่แล้วค่ะ วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ?
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ?
5.ขณะที่รอน้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมันอันตราย
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ?
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ?เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาดช่วยคุณครูบ้างคะ?
10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?



วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

22 September 2013

Leanning 16.
วันนี้คุณครูเบียร์พานักศึกษาเขียนแผนการสอน
ในการทำCookkingสำหรับเด็กปฐมวัย


ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน
1.เขียนคำว่า Cookking หมายความว่าอย่างไรบ้าง

2. เลือกเมนูอาหารที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มอยากจะทำ แล้วบอกประโยชน์และข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเมนูของกลุ่มตนเอง

3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด เช่น วิธีทำ ,อุปกรณ์ ,วัตถุดิบ เป็นต้น
4.เขียนแผนการสอนเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง

5.นำแผนการสอนออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน



16 September 2013

Learnning 16.
วันนี้มีการนำเสนอสื่อการสอน
เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยมีการนำเสนอสื่อการสอนดังนี้

การทดลอง
1.กาลักน้ำ
2.ข้าวยกได้
3.ดอกไม้บาน


ของเล่น
1.ปลาร้องเพลง
2.กระป๋องร้องเพลง
3.ขวดลูกเด้ง
4.กบไต่เชือก
5.กระป๋องบูมเมอแรง
6.ภาพเปลี่ยนแปลง
7.ตุ๊กตาล้มลุก


สื่อจัดไว้ในมุมการศึกษา
1.ภาพนูน 2 มิติ
2.นิทานในกล่อง
3.กล่องมหัศจรรย์
4.ลูกบอลกลิ้ง
5.น้ำหนักที่แตกต่าง
6.ซูโม่กระดาษ
7.ภาพเปลี่ยนสี
8.สัตว์โลกน่ารัก
9.จับคู่ให้ถูก

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

9 September 2013

Learnning 15.
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์
เพื่อเตรียมส่งในการเรียนครั้งต่อไป


วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

2 September 2013

Learnning 14
กิจกรรมวันนี้..นำเสนอสื่อการสอน
วิทยาศาสตร์ที่เก็บเข้ามุม

กลุ่มของฉันได้นำเสนอสื่อกีต้ากล่อง..
                อาจารย์ให้คำแนะนำโดยการให้ทำสายกีต้าโดยการหย่อนและตึงแต่ละสายให้มีความแตกต่างกัน..และใช้แกนกระดาษทิชชู่มายึดโคนกีต้าไว้เพื่อให้เกิดเสียงที่แตกต่างจากเดิม 
               กีต้าทำให้เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อเราดึงสายกีต้าแล้วก็จะเกิดการสั่นสะเทือนไปยังกล่องแล้วทำให้กล่องที่โปร่งเกิดเสียงดังออกมาผ่านรูวงกลม




26 August 2013

Learnning 13
สรุปงานวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 
ของ : ศศิพรรณ  สำแดงเดช
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพนฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
             2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ความสําคญของการวิจัย
                ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสําคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเปนแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
                  กลุ่มประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทองสังกัดกรุงเทพมหานครจํานวน 5 ห้องเรียน จํานวน 175 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
                 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิงอายุระหว่าง 5-6 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทองสังกัดกรุงเทพมหานครจํานวน 30 คน โดยผู้วิจัยทําการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร 15  อันดับสุดท้าย กําหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ตัวแปรที่ศึกษา
 1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
นิยามศัพท์เฉพาะ
 1. เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กนักเรียนชายหญิงอายุ 5-6 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ชั้น
อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขต
จอมทองสังกัดกรุงเทพมหานคร
 2. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หมายถึง การที่เด็กได้ฟังนิทานที่เกี่ยวข้องกับวทยาศาสตร์จนจบเรื่องโดยการเล่าเรื่องนั้นมีสื่อต่างๆ เช่น ภาพหุ่นประกอบการเล่าเพื่อให้เด็กตั้งใจฟังนิทาน จากนั้นเด็กทํากิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกต การจําแนกประเภทและการสื่อสาร
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01 
2. ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้าน
การสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสารอยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน
โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสื่อสารอยู่
ในระดับดี

19 August 2013

Learnning 12
นำเสนอสื่อการทดลองกลุ่มของฉันได้นำเสนอเรื่อง
"เทียนไขดูดน้ำ"
มีสมาชิกดังนี้
1.นางสาวฑิฆัมพร  สุดาเดช  5411201352
2.นางสาวเบญจวรรณ  นนตะพันธ์  5411201469
3.นางสาววิไลพร  ชินภักดิ์   5411201667
1.เด็กๆเห็นไหมคะว่าวันนี้คุณครูนำอะไรมาบ้าง??

2.คุณครูวางเทียนไขให้ติดกับจานแล้วจุดไฟที่เทียนไข

3.คุณครูเทน้ำสีผสมอาหารใส่จาน

4.คุณครูนำขวดแก้วครอบเทียนไขแล้วถามเด็กๆว่า
"เมื่อเอาขวดครอบเทียนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?"

5.ให้เด็กๆสังเกตและเก็บข้อมูล
โดยการวาดภาพที่เห็นสิ่งที่เกิดจากการทดลอง

6.คุณครูให้เด็กๆช่วยกันระดมความคิดว่า
"ถ้าจุดเทียนแล้วเอาแก้วครอบจะเกิดอะไร"
7.คุณครูและนักเรียนช่วยกันสรุป
สรุปผลการทดลอง
        สาเหตุที่น้ำด้านนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาการสันดาป เกิดจากก๊าซออกซิเจนที่ใช้ในการเผาไหม้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วหลังจากนั้นความดันอากาศที่อยู่ภายในแก้วจะลดน้อยลง ความดันอากาศที่อยู่นอกแก้วจะมาขึ้น จึงดันน้ำที่อยู่ภายนอกแก้วนั้นเข้าไปอยู่ในแก้ว

เพื่อนๆนำเสนอกิจกรรมการทดลอ